วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2555


จิตวิทยาการเรียนการสอน
ความหมาย    จิตวิทยาเป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก
 แนวทางในการศึกษา 
ศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลอง นำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา ศึกษาพัฒนาการด้านต่างๆของนักเรียน
จิตวิทยากับการเรียนการสอน     จิตวิทยาการเรียนการสอนเป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน 
      1.  ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
      2.  หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วย
           ทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
      3.  ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
      4.  การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการ   
           แก้ปัญหาการเรียนการสอน  
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน 
     ประการแรก       มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน 
ประการที่สอง      นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา  สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
 หลักการสำคัญ 
1.  มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.  มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.  มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.  มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน




จิตวิทยาการศึกษา    จิตวิทยาการศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดการศึกษา การสร้างหลักสูตรและการเรียนการสอน โดยคำนึงถึงความแตกต่างของบุคคล นักการศึกษาและครูจำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางจิตวิทยาการศึกษา    เพื่อจะได้เข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนแก้ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียนการสอนเหมือนกับวิศวกรที่จำเป็นจะต้องมีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์  
1 .ความสำคัญของวัตถุประสงค์ของการศึกษาและบทเรียน  นักจิตวิทยาการศึกษาได้เน้นความสำคัญของความแจ่มแจ้งของการระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา บทเรียน ตลอดจนถึงหน่วยการเรียน                         2. พัฒนาการ และทฤษฎีบุคลิกภาพ  เป็นเรื่องที่นักการศึกษาและครูจะต้องมีความรู้                                     3.ความแตกต่างระหว่างบุคคลและกลุ่ม นอกจากมีความเข้าใจพัฒนาการของเด็กวัยต่างๆ แล้ว     นักการศึกษาและครูจะต้องเรียนรู้ถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล                                                                        4.ทฤษฎีการเรียนรู้  นักจิตวิทยาที่ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้                                                                       5.ทฤษฎีการสอนและเทคโนโลยีทางการศึกษา นักจิตวิทยาการศึกษาได้เป็นผู้นำในการบุกเบิกตั้งทฤษฎีการสอน ซึ่งมีความสำคัญและมีประโยชน์เท่าเทียมกับทฤษฎีการเรียนรู้                                                       จิตวิทยาพื้นฐาน       ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาในทุกๆด้าน ทำให้มนุษย์ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวิถีชีวิตอย่างมาก เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้ และจิตวิทยาก็เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้นด้วย เพราะจะช่วยให้มนุษย์เข้าใจถึงความต้องการทัศนคติ ปฏิกิริยาและพฤติกรรมของบุคคลอื่น ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกัน                                                         ความสำคัญของจิตวิทยา
1.             รู้จัก เข้าใจ และยอมรับธรรมชาติของตนเอง และผู้อื่นทำให้สามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
2.             ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดพฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ในสถานการณ์ต่างๆเพื่อจะได้คาดคะเนหรือพยากรณ์ล่วงหน้าและควบคุมการเกิดและไม่ให้เกิดพฤติกรรมนั้นๆ
3.             เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ตลอดจนพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและเชาว์ปัญญา
4.             เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น
5.             เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการแก้ปัญหาของตนเอง
6.             เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ทางจิตวิทยาไปใช้ในการปรับตัว  สามารถเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุขและไม่ทำให้ตนเองและผู้อื่นเดือดร้อน

การประยุกต์จิตวิทยาเพื่ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ของผู้เรียน 
ครูนอกจากจะต้องรู้หลักสูตรและเนื้อหาวิชาแล้ว ควรรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์ ซึ่งเป็นศาสตร์ทางจิตวิทยา และทำความเข้าใจพฤติกรรมการเรียนรู้ของมนุษย์โดยต้องเข้าใจ
1.             รู้จักและเข้าใจผู้เรียนในวัยต่าง ๆ แง่มุมต่าง ๆ
2.             รู้และเข้าใจทฤษฎีการเรียนรู้
3.             รู้และเข้าใจปัจจัยหลักส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อการเรียนรู้
4.             รู้และเข้าใจเทคนิคกระบวนการทางจิตวิทยาเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียน
5.             รู้และเข้าใจกระบวนการสืบค้นความรู้ด้วยวิธีการทางจิตวิทยา                                                        วิธีการศึกษาทางจิตวิทยา 
1.              การตรวจสอบตนเอง หมายถึง  วิธีการให้บุคคลสำรวจ ตรวจสอบตนเองด้วยการย้อนทบทวนการกระทำและความรู้สึกนึกคิดของตนเองในอดีต ที่ผ่านมา  แล้วบอกความรู้สึกออกมา
2.              การสังเกต  หมายถึง  การเฝ้าดูพฤติกรรมในสถานการณ์ที่เป็นจริง อย่างมีจุดมุ่งหมาย  โดยไม่ให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว  การสังเกตแบ่งเป็น  2  ลักษณะ
2.1       การสังเกตอย่างมีแบบแผน  หมายถึง  การสังเกตที่มีการเตรียมการล่วงหน้า  มีการวางแผน  มีกำหนดเวลา  สถานการณ์
2.2       การสังเกตอย่างไม่มีแบบแผน  หมายถึง  การสังเกตโดยไม่ต้องมีการเตรียมการล่วงหน้าหรือ              วางแผนล่วงหน้า
3.              การศึกษาบุคคลเป็นรายกรณี หมายถึง  การศึกษารายละเอียดต่าง ๆที่สำคัญของบุคคล แต่ต้องใช้เวลาศึกษาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหนึ่ง  แล้วรวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณา  ตีความเพื่อให้เข้าใจถึงสาเหตุ
       4.  การสัมภาษณ์  หมายถึง  การสนทนากันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้น ซึ่งการ สัมภาษณ์ก็มีหลายจุดมุ่งหมาย
       5. การทดสอบ หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีเกณฑ์ในการวัดลักษณะ
ขอบข่ายของวิชาจิตวิทยา
1.             จิตวิทยาสรีระจิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการทางสรีรวิทยาและกระบวนการทางจิตใจ
2.             จิตวิทยาพัฒนาการ จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาความรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและกลไกในการพัฒนาการในอินทรีย์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องกัน
3.             จิตวิทยาบุคลิกภาพ จิตวิทยาแขนงนี้ มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาและสังเกตพัฒนาการของมนุษย์ในด้านต่างๆ ทำให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์ 
4.             จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาในโรงเรียน จิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษา เพื่อศึกษาใช้ประยุกต์ช่วยในเรื่องการเรียนการสอนทำให้ผู้สอนเข้าใจพฤติกรรมเด็ก
5.             จิตวิทยาการวัดผลและการทดสอบจิตวิทยาแขนงนี้มุ่งศึกษาเพื่อศึกษาเกี่ยวกับเรื่องข้อมูลความเชื่อถือ